ข้อสอบ TGAT คือ รูปแบบข้อสอบที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ สำหรับนำคะแนนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ยื่นเข้าเรียนต่อกับมหาวิทยาลัยตามระบบ TCAS ในปัจจุบันรูปแบบการสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลง สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่ม TCAS66 มีความชัดเจนเกี่ยวกับการปรับข้อสอบกลางที่ใช้งาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในแต่ละรายวิชา จึงเกิดเป็นรูปแบบการสอบ TGAT และ TPAT ขึ้น จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ TGAT คืออะไร เนื้อหาสำคัญที่ใช้ในการสอบ เพื่อการเตรียมตนเองอย่างเหมาะสมของผู้สอบทุกคน
สำหรับน้องๆคนไหนที่อยากพิชิตข้อสอบอังกฤษอย่างง่ายดาย พี่หมอนิรินมีคอร์สอังกฤษ TGAT Eng & A-LEVEL Eng ที่ครบ เป๊ะ ตรงจุด จบในที่เดียว คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดได้เลย
TGAT คืออะไร
TGAT หรือ Thai General Aptitude Test คือ รูปแบบข้อสอบที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ สำหรับนำคะแนนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ยื่นเข้าเรียนต่อกับมหาวิทยาลัยตามระบบ TCAS ก่อนหน้านี้มีการเริ่มต้นเปิดรับสมัครเมื่อปี 2563 เพื่อการสอบในปีการศึกษา 2564 โดยเป็นทางเลือกเพิ่มเติม ไม่มีการบังคับใช้ แต่ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยปี 2566 ของผู้สอบระบบ TCAS จะมีการใช้งานอย่างเป็นทางการ ลักษณะการสอบจะใช้วิธีสอบผ่านคอมพิวเตอร์ มีคะแนนเต็ม 300 คะแนน
เนื้อหาข้อสอบ TGAT มีอะไรบ้าง
เนื้อหาในการสอบ TGAT จะแตกต่างกับการสอบ GAT จากเดิมที่มี 2 ส่วน เป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. การสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือ Conversation Communication
เป็นการสอบเน้นเรื่องของ Conversation การใช้สำนวนในภาษาอังกฤษ และคำศัพท์พื้นฐาน
2. การคิดอย่างมีเหตุผล หรือ Critical and Logical Thinking
ข้อสอบจะออกเนื้อหาเพื่อให้ผู้สอบใช้หลักในการวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล มีตรรกะ การคิดเพื่อแก้ไขปัญหา
3. สมรรถนะการทำงานในอนาคต หรือ Future Workforce Competencies
ข้อสอบจะมีการแบ่งเนื้อหาย่อยออกทั้งหมด 4 ส่วน ประกอบไปด้วย
- การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม หรือ Value Creation & Innovation
- การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน หรือ Complex Problem Solving
- การบริหารจัดการอารมณ์ Emotional Governance
- การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Civic Engagement
ซึ่งการสอบ TGAT ผู้สอบสามารถเลือกสอบได้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทย ทั้งนี้ข้อสอบในส่วนที่ 1 (การสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือ Conversation Communication) จะใช้การสอบภาษาอังกฤษเท่านั้น ขณะที่การสอบส่วนที่ 2 (การคิดอย่างมีเหตุผล หรือ Critical and Logical Thinking และ สมรรถนะการทำงานในอนาคต หรือ Future Workforce Competencies) สามารถเลือกได้ทั้ง 2 ภาษา อย่างไรก็ตามอาจมีบางหมาวิทยาลัยหรือคณะที่ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการสอบด้วยภาษาใด จึงต้องศึกษาข้อมูลคณะที่ตนเองต้องการเข้าเรียนอีกครั้ง สอบถามเพิ่มเติมกับพี่หมอนิรินคลิก
เรื่องที่ต้องรู้ก่อนสอบ TGAT
- การสอบ TGAT จะไม่ใช้รูปแบบการสอบแบบ GAT เชื่อมโยง (ข้อสอบ GAT ส่วนที่ 1) แต่จะให้ผู้สอบได้คิด วิเคราะห์ และเลือกคำตอบจากตัวเลือกที่กำหนดไว้ การเชื่อมกันของคำถามอาจแบ่งความยาวเป็น 2-3 ข้อ เท่านั้น ไม่มีการอ่านบทความ สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
- ในการสอบ TGAT แบ่งออกปีละ 2 รอบ กรณีที่เลือกสอบทั้ง 2 รอบ ระบบจะดึงเอาคะแนนรอบดีที่สุดไปใช้เพื่อการคัดเลือก
- ผลคะแนนการสอบ TGAT จะมีอายุเท่ากับ TPAT และวิชาสามัญ คือ 1 ปี ในกรณีที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของปีถัดไปต้องทำการสอบใหม่ทั้งหมด
- ผู้ที่สามารถสอบได้ต้องศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า โดยทาง ทปอ. หรือ ที่ประชมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ยังไม่อนุญาตให้ผู้ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 เข้าสอบ
คำแนะนำเบื้องต้นในการสอบ TGAT
- สำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมเพื่อเข้าสอบ TGAT ต้องศึกษาข้อมูลการสอบให้ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นการสมัครสอบ การเลือกมหาวิทยาลัย คณะที่ตนเองจะเข้าเรียน เพื่อการเลือกภาษาในการสอบให้ชัดเจน
- มีการเตรียมอ่านหนังสือและทำข้อสอบตัวอย่างท้ายเล่ม ด้วยการสอบแบบใหม่จึงยังไม่มีข้อสอบเก่า ๆ ให้ใช้งานมากนัก
- คอร์สติว TGAT กับติวเตอร์ที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ในการสอน สามารถบอกเทคนิค หรือแนวทางในการสอบได้มากขึ้น
สรุป
การสอบ TGAT ยังถือเป็นรูปแบบใหม่มากสำหรับผู้สอบในระดับมัธยมปลายที่จะสอบเข้าเรียนต่อกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การศึกษาข้อมูลอย่างครบถ้วนและเตรียมตนเองให้ดีเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งผลคะแนนจะถูกใช้ในการยื่น TCAS รอบ Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน), รอบโควตา หรือการใช้งานในรอบ Admission ขึ้นอยู่กับการกำหนดของมหาวิทยาลัยหรือคณะที่สอบเข้าจะนำคะแนนไปใช้งานในรอบใดเพื่อพิจารณาคุณสมบัติและความรู้ ความสามารถของผู้สอบในการรับเข้าศึกษาต่อไป
เรียนภาษาอังกฤษ ม.ปลาย ครบ เป๊ะ ตรงจุด กับ พี่หมอนิริน คลิก